Monday, July 8, 2013

การออกเสียงพยัญชนะภาษามลายู

ในปัจจุบันภาษามลายูจะใช้รูปตัวอักษรโรมันอย่างภาษาอังกฤษมาเป็นพยัญชนะและสระแทนตัวอักษรยาวีหรืออักษรอารบิคกันมากขึ้นและต่อไปในอนาคตก็คงจะเปลี่ยนมาใช้ตัวอักษรโรมันกันอย่างสมบูรณ์ดังนั้นผู้ที่รู้พยัญชนะและสระภาษาอังกฤษหรืออ่านภาษาอังกฤษได้จึงเรียนภาษามลายูได้ง่ายมากแม้จะออกเสียงต่างกันบ้างก็ตาม นอกจากนี้ไวยกรณ์หรือโครงสร้างภาษามลายูนี้สามารถทำความเข้าใจได้ไม่ยาก กล่าวคือมีโครงสร้างคล้ายกับภาษาไทยมาก อย่างเช่นการเรียงลำดับคำก็จะเรียงลำดับคำเช่นเดียวกับภาษาไทยเกือบทุกประโยคก็ว่าได้ รูปตัวอักษรโรมันที่ใช้เขียนภาษามลายูนี้เรียกว่า อักษร รูมี เพราะฉะนั้นบางทีบางท่านอาจเรียกภาษามลายูว่าภาษารูมีด้วยเช่นกัน ส่วนชื่อเรียกเป็นทางการของภาษามลายูก็คือ บาฮาซา มาเลเซีย มาดูพยัญชนะภาษามลายูพร้อมตัวอย่างการออกเสียงผ่านคำศัพท์ภาษามลายูบางคำกันครับ

การออกเสียงพยัญชนะภาษามลายู
b=batu=บาตู (ก้อนหิน)
c=cawan=ชาวัน (ถ้วยแก้ว)
d= dapat=ดาปัต (ได้รับ)
f=faham=ฟาฮาม (เข้าใจ)
g=guru=กูรู (ครู)
gh=ghaib=ฆัยบฺ (หลบซ่อน)
h=hutang=ฮูตัง (หนี้สิน)
j=jalan=จาลัน (ถนน)
k=kuda=กูดา (ม้า)
kh=khamis=คามิซ (วันพฤหัสบดี)
l=lapar=ลาปาร (หิว)
m=meja=เมจา (โต๊ะ)
n=nasi=นาซิ (ข้าว)
ny=nyamuk=ญามุคฺ (ยุง)
ng=ngeri=เงอริ (น่ากลัว)
P= pasir=ปาซิร (ทราย)
r=Rabu=ราบู (วันพุทธ)
s=sudah=ซูดะฮฺ (เสร็จแล้ว)
sy=syarah=ชาระ (พูด บรรยาย)
t=tasik=าซิ (ทะเลสาบ)
v=vokal=โวคัล (สระ)
w=wang=วัง (เงิน)
x=xenon=เซนน (ชื่อแก๊ส)
y= yuran=ยูรัน (ค่าเล่าเรียน)


z=zamanซามาน (สมัย ยุค)

เคล็ดลับสำหรับการออกเสียงพยัญชนะภาษามลายู
1พยางค์ที่สะกดด้วย g, k จะไม่ออกเสียงตัวสะกดแต่จะออกเสียงเป็นสระเสียงสั้นเท่านั้น เช่นคำว่า nyamuk=ญามุคฺ (ยุง) เป็นต้น
2 พยางค์ที่สะกดด้วย r จะออกเสียงตัวสะกดแบบ ร เรือลิ้นรัวหรือ น หนู อม ร เรือ เช่นคำว่า pasir=ปาซิร (ทราย) เป็นต้น
บทความถัดไป

No comments: