Monday, June 9, 2014

สระในภาษามลายู

นภาษามลายูมีสระอยู่สองชนิดคือสระแท้หรือสระเดี่ยวกับสระผสมการฝึกอ่านสะกดพยัญชนะผสมกับสระในภาษามลายูนั้นไม่ยากครับให้ท่านเปรียบเทียบพยัญชนะที่ผู้เขียนได้ให้ไปในบทความครั้งก่อนแล้วลองนำมาฝึกผสมกับสระดูโดยฝึกผ่านคำศัพท์ที่ให้ไว้ทั้งในบทความครั้งที่แล้วและบทความครั้งนี้แล้วท่านจะรู้สึกอยากเรียนภาษามลายูขึ้นมาทันทีเพราะโครงสร้างไวยกรณ์ภาษามลายูนั้นง่ายจริงๆครับฝึกใช้สระภาษามลายูได้ผ่านคำศัพท์ต่อไปนี้ครับ

สระในภาษามลายู
สระแท้หรือสระเดี่ยว (Vokal)
i=อี  ibu=อีบู (แม่)
e= เอ ena=เอนา (อร่อย)
a=อะ อา aku=อะกู (ข้า กู)
o= ota=โอตา (สมอง)
u=อู ubi=อูบี (มัน เผือก)
e= เออ ema=เออมา (แม่)

สระผสม ( Diftong)
ai=อัย air=อัยรฺ (น้ำ)
au=เอา aur=เอารฺ (ต้นไผ่)
oi=โอย  kaloi กาโลย (ชื่อปลาชนิดหนึ่ง)

ข้อสังเกตการออกเสียงสระภาษามลายู
1รูปสระ e ในภาษามลายูออกเสียงได้สองแบบ
2 แบบแรกออกเสียงเท่ากับสระ เ ในภาษาไทยแบบนี้เรียกว่า e taling เอ ตาลิง
3 แบบที่สองออกเสียงเท่ากับเสียงสระ เ ออ ในภาษาไทยแบบนี้เรียกว่า e pepet เออ เปอเปิต
4การจะรู้ได้ว่าคำไหนออกเสียงเป็นแบบไหนเมื่อใช้สระสองตัวนี้กับพยางค์ใดพยางค์หนึ่งของคำเมื่อท่านเรียนไปถึงระดับหนึ่งและรู้ศัพท์มากขึ้นก็จะรู้ได้เองครับว่าพยางค์ไหนออกเสียงอย่างไรมันไม่ยากเกินไปหรอกครับ
บทความถัดไป
บทความก่อนหน้า

No comments: