Showing posts with label บุรุษสรรพนามภาษามลายู. Show all posts
Showing posts with label บุรุษสรรพนามภาษามลายู. Show all posts

Thursday, June 19, 2014

บุรุษสรรพนามภาษามลายู

1 สรรพนามบุรุษที่หนึ่ง (แทนตัวผู้พูด) ได้แก่
1.1      สรรพนามเอกพจน์  saya=ซายา (ฉัน ดิฉัน ผม กระผม ข้าพเจ้า), aku=อะกู (กู ข้า)
1.2      สรรพนามพหูพจน์ kami=กามิ (พวกเรา (ไม่รวมผู้ฟัง), kita=กิตา (พวกเรา (รวมผู้ฟังด้วย)

ตัวอย่างการใช้สรรพนามบุรุษที่หนึ่งทั้งเอกพจน์และพหูพจน์ในภาษามลายู  สุรีจะไปห้องสมุดแล้วสุดากับสุนีย์จะไปด้วย ก็จะพูดโดยใช้สรรพนามได้ดังนี้
1 สุรีย์: saya hendak perki ke perpustakaan.
ซายา เฮินดะ เปิรกี เกอ เปอปุสตากาอัน
(ฉันจะไปห้องสมุด)

2 สุดากับสุนีย์: Kami hendak pergi juga.
กามี เฮินดะ เปิรกี จุกา
( เราสองคนจะไปด้วย)

3 สุรีย์: Baik, mari kita perki bersama-sama.
ไบคฺ มารี กิตา เปิรกี เบิรซามา ซามา
(ดีสิ งั้นพวกเราสามคนไปด้วยกันเลย)

2 สรรพนามบุรุษที่สอง (แทนผู้ที่เราพูดด้วย) ได้แก่
2.1 สรรพนามเอกพจน์   anda=อันดา (คุณ), saudara/i= เซาดารา/รี (ท่าน), awak=อาวะ (แก เอ็ง นาย), engkau=เอิงเกา (แก เอ็ง), cik=ชิ (คุณ ท่าน (ใช้แทนผูหญิง), encik=เอินชิ (คุณ ท่าน (ใช้แทนผู้ชาย), tuan=ตวน (ท่าน (ใช้แทนผู้ชาย) Puan=ปวน (ท่าน คุณ (ใช้แทนผู้หญิงหรือสุภาพสตรีที่สมรสแล้ว)

2.2 สรรพนามพหูพจน์ daudara-saudari=เซาดารา เซาดารี (ท่านทั้งหลาย), tuan-tuan dan puan-puan=ตวน ตวน ดัน ปวน ปวน (ท่านสุภาพบุรุษและสุภาพสตรี), saudara sekalian=เซาดารา เซอกาเลียน (ทุกๆท่าน)

ตัวอย่างการใช้บุรุษสรรพนามที่สองทั้งเอกพจน์และพหูพจน์ในภาษามลายู 
1 anda kawan saya.
อันดา กาวาน ซายา
(คุณเป็นเพื่อนฉัน)
2 Puan itu guru Bahasa Malaysia saya.
ปวน อิตู กูรู บาฮาซา มาเลเซีย ซายา
(คุณผู้หญิงคนนั้นเป็นครูภาษามลายูของผม)
3 Selamat datang ke Thailand tuan-tuan dan puan-puan.
เซอลามัตดาตัง เกอ ไทแลนดฺ ตวน ตวน ดัน ปวน ปวน
(ยินดีต้อนรับท่านสุภาพบุรุษและท่านสุภาพสตรีสู่ประเทศไทยครับ)

3 สรรพนามบุรุษที่สาม (แทนผู้ที่เราพูดถึงหรือสิ่งที่พูดถึง) ได้แก่
3.1 สรรพนามเอกพจน์   dia=ดีอะ (เขา (ใช้ได้กับคนทุกเพศวัย), ia=อิอะ (มัน (ใช้แทนสัตว์และสิ่งของ), nya=ญา (เขา (ใช้ได้กับทุกเพศวัย)
3.2 สรรพนามพหูพจน์   mereka=เมอเรกา (พวกเขา (ใช้ได้กับทุกเพศวัยที่มีมากว่าหนึ่งคนขึ้นไป)

ตัวอย่างการใช้บุรุษสรรพนามบุรุษที่สามทั้งเอกพจน์และพหูพจน์ในภาษามลายู  
1 Dia abu saya.
ดีอา อาบู ซายา
หล่อนเป็นแม่ของฉัน
2 Rumahnya besar.
รูมะยา เบอซาร
บ้านเขาหลังใหญ่
3 Mereka datang dari Bangkok.
เมอเรกา ดาตัง ดารี แบงค็อก
(พวกเขามาจากกรุงเทพฯ)

คำบุรุษสรรพนามภาษามลายูเหล่านี้นอกจากทำหน้าที่เป็นบุรุษสรรพนามแล้วยังใช้เป็นคำแสดงความเป็นเจ้าของได้อีกด้วย ยกตัวอย่างเช่น
saya=ซายา (ฉัน ดิฉัน ผม กระผม ข้าพเจ้า)ใช้แสดงความเป็นเจ้าของว่า ของฉัน ของดิฉัน ของผม ของกระผม ของข้าพเจ้า ฯลฯ ได้เช่นกัน ดังนั้นคำบุรุษสรรพนามอื่นๆที่อยู่ด้านบนก็สามารถใช้แสดงความเป็นเจ้าของในลักษณะนี้ได้เช่นเดียวกัน โดยใช้คำบุรุษสรรพนามเหล่านี้ตามหลังสิ่งที่เป็นเจ้าของ เช่น
Buku saya=บูกู ซายา (หนังสือของฉัน) เป็นต้น

ข้อควรจำสำหรับการใช้คำบุรุษสรรพนามภาษามลายู
1 คำสรรพนามเอกพจน์บุรุษที่หนึ่ง aku=อะกู (กู ข้า) ใช้ในภาษาพูดกับเพื่อนที่สนิทสนมคุ้นเคยเท่านั้น อย่าใช้กับผู้อื่นเพราะจะไม่สุภาพ
2 คำสรรพนามพหูพจน์บุรุษที่หนึ่ง kami=กามิ ( พวกเรา) จะไม่รวมผู้ฟัง แต่จะหมายถึงผู้ที่พูดมีอยู่กันสองคนขึ้นไปส่วนผู้ฟังจะกี่คนก็ตาม
3 คำสรรพนามพหูพจน์บุรุษที่หนึ่ง kita=กิตา ( พวกเรา จะรวมผู้ฟังด้วย หมายถึงผู้พูดอาจมากันหลายคนแล้วผู้ฟังอาจมีกี่คนก็ตาม
4 คำสรรพนามเอกพจน์ บุรุษที่สอง awak=อาวะ (แก เอ็ง นาย), engkau=เอิงเกา (แก เอ็ง) ใช้ได้กับเพื่อนสนิทหรือผู้ใหญ่ใช้เรียกเด็กเท่านั้นไม่เช่นนั้นจะถือว่าไม่สุภาพ
5 คำสรรพนามเอกพจน์บุรุษที่สาม nya=ญา (เขา ของเขา เธอ ของเธอ) เมื่อใช้แสดงความเป็นเจ้าของจะต้องวางไว้ติดกับสิ่งที่เป็นเจ้าของเสมอเช่น Rumahnya=รูมะยา (บ้านของเขา) Rumah dia=รูมะ ดีอะ (บ้านของเขา) ทั้งสองแบบนี้ใช้แทนกันได้
6 คำสรรพนามบุรุษที่หนึ่ง ที่สองและที่สามได้แก่ saya=ซายา  anda=อันดา dia=ดิอา ตามลำดับ ใช้ได้กับทุกเพศวัย
บทความถัดไป
บทความก่อนหน้า